แบบฝึกหัดบทที่ 6
แบบฝึกหัดบทที่ 6
1.ระบบสารสนเทศในองค์กร คืออะไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละประเภท พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.ระบบสารสนเทศในองค์กร คืออะไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบายแต่ละประเภท พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS) ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ – จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย
3. ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภท พิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) ระบบ สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่าง เครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , FAX
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video – Conferencing)
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence / Expert System : AI/ES)ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้าย กับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่ง เป็นความสามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์
2.MIS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 1.ความแตกต่างด้านการใช้งาน MIS เป็นระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับ งานที่มีโครงสร้างชัดเจน ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีโอกาส หรือปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง เพราะงานเหล่านั้นเป็นงานที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ
DSS เป็นระบบสาระสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เกี่ยวกับงานหรือแผนที่ไม่มีโครงสร้างและไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วในการตัดสินใจ
2.ความแตกต่างด้านผู้ใช้งาน MIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร DSS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง
3.ความแตกต่างด้านการเก็บข้อมูลและประมวลผล MIS ดึงข้อมูลจากส่วนกลางที่เป็นฐานข้อมูลเก่าขององค์กรมาวิเคราะห์ DSS ใช้ตัวแบบ (Model) มาประมวลผลและแก้ปัญหา โดยข้อมูลมาจากทั้งภายในและภายนอก
4.ด้านระบบและการแสดงผล MIS ระบบจะพิมพ์รายงานออกมาตามกำหนด รูปแบบโดยทั่วไปจึงเป็นเอกสาร DSS ระบบเป็นแบบ Online การแสดงผลสามารถทำได้ทันทีทันใดโดยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสามารถปริ้น
3.ในปัจจุบันระบบ AI ถือว่ามีความสำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจ จงอธิบายว่า AI คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างของธุรกิจที่นำระบบ AI เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ตอบ AI : Artificial Intelligence (อาร์ตทิฟิคอล อินทอลนิจิน) หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ คือโปรแกรม Software (ซอฟแวร์)ต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์
ความสำคัญ
1)ใช้วิเคราะห์ข้อมูลซับซ้อนได้แม่นยำมากกว่า
2)เปิดโอกาสในการ “สร้างสรรค์” บริการและความประทับใจให้ลูกค้าได้มากกว่าเดิม
3)ช่วยเจ้าของธุรกิจให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นตัวอย่าง
ธุรกิจที่นำระบบ AI เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
การแพทย์
เป็นที่ทราบดีว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ขาดแคลนเครื่องมือและบุคลากรทางแพทย์ แต่ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงเป็นตัวเลือกที่อุดช่องว่างที่เกิดขึ้น ดังนั้น AI หรือปัญญาประดิษฐ์จึงถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นและยังช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำ IBM Watson เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์การรักษาโรคมะเร็ง หรือที่โรงพยาบาลเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีน มีการใช้เทคโนโลยี AI จากบริษัท Infervison เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยและเอ็กซเรย์โรงมะเร็งปอด
ธุรกิจที่นำระบบ AI เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น